วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รายชื่อสมาชิกไฟฟ้าอุตสาหกรรม56

รายชื่อสมาชิก
1. อาจารย์ ธภัทร   ชัยชูโชค   อ.ปาล์ม
2. นาย อภิวัฒน์   เจิมขวัญ   กุ้ง
3. นาย ชัยยงค์   ชูแก้ว   ปั๊ม
4. นาย วิโรจน์   เหมมาน   ลิฟ
5. นาย อาคม   เรืองกูล   แบงค์
6. นาย อนุพงษ์   เทพพรหม   ทิว
7. นายกฤษกร สุวรรณวงศ์   เอฟ
8. นายจตุพงค์ ณ สงขลา   พงค์
9.  นายจิรกิตต์ สุขเกษม   บอย
10.  นายจิรพงศ์ แจ่มศรี   เอฟ
11. นายเชิดชาย เรืองฤทธิ์   ชาย
12. นายตวิษ เพ็งศรี   บ่าว
13. นายธีรวุฒิ ศรีสวัสดิ์   วุฒิ
14. นายนพรัตน์ แก้วกำเนิด   เอ็กซ์
15. นายนันทปรีชา ปิยะ บุญสนอง   โปร
16. นายนิรันดร์ เสมอพบ   แบ
17. นายนิโรจน์ หวันปรัตน์   ซอล
18. นายปภังกร เอียดจุ้ย   กิ๊ฟ
19. นายปรินทร์ ผุดผ่อง   บอล
20. นายพิชชากร มีบัว   กร
21. นายพีระพงศ์ จันทร์ชู   พงศ์
22. นายภาคภูมิ จุลนวล   เจ
23. นางสาวเยาวเรศ ร่วมพรภาณุ   โรส
24. นายรชต อารี   รอน
25. นายรุสดี วาลี   ซี
26. นายวสุ ราชสีห์   หนัง
27. นายวัชรินทร์ เขียนวารี   ปอนด์
28. นายวิฆเนศ ณ รังษี   หมู
29. นายวิโรจน์ เหมมาน   ลิฟ
30. นายศุภวัฒน์ ไชยของพรม   รุส
31. นายสมประสงค์ วงศ์สุวรรณ   ทู
32. นายสมศักดิ์ มากเอียด   กล้วย
33. นายสราวุฒิ เกบหมีน   ซอล
34. นายสานิต มิตสุวรรณ   ปอ
35. นายสุรเดช สม่าแห   ยา
36. นายสุรศักดิ์ สะเกษ   โจ้
37. นายเสะมาดี ตูแวดาแม   ดี
38. นายอนิรุตต์ ภาระบุญ   โต๋
39. นายอภิเดช ทองอินทร์   โหนด
40. นายอภิสิทธิ์ ยะโกบ   ดุล
41. นายอับดุลรอมัน บูกา  
42. นายอับดุลเลาะ กาโฮง   เลาะ
43. นายอาจณรงค์ ราชูภิมนต์   มิค
44. นายอานนท์ นาควิเชียร   นนท์
45. นายอาลียะ สะอุ   ฟาน
46. นายอาหามะซุบฮี จะแน   มะ
47. นายอิสมาแอ   มะยี   
48. นายจตุรงค์ หิรัญกูล   นิว
49. นายเกรียงศักดิ์   บุญประเสริฐ   เบียร์
50. นายพุฒิพงศ์   หนูนอง   เพชร
51. นายกิตติศักดิ์ ระบิงเกา

เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน Ring Network

โครงสร้างเครือข่ายแบบวงแหวน ring topology




โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
       
              โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง


                        เครือข่ายแบบวงแหวน เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดเช่นเดียวกับแบบดาว โดยสถานีแต่ละสถานีจะต่อกับสถานี ที่อยู่ติดทั้งสองข้างของตนเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของแต่ละสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งอยู่ในวงแหวนแบบจุดต่อจุดไปในทิศทางเดียวกันจนถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด โดยเครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้า และส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น จึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนเองหรือไม่ ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป อีกทั้งสามารถตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งด้วย ในกรณีที่เครื่องรับปลายทางไม่ได้รับสัญญาณข้อมูลในเวลาที่กำหนด จะมีการแจ้งว่าเกิดความผิดพลาดในเครือข่ายได้



เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิลสายเดียว ในลักษณะวงแหวน ซึ่งมักจะใช้ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์วางอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้คือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงาน ได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน


หลักการรับส่งข้อมูล
                การวิ่งของข้อมูลในเครือข่ายวงแหวนจะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล มันจะส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่คอมพิวเตอร์เครื่องต้นทางระบุ มันจะส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไป ซึ่งจะมีขั้นตอนอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จะกว่าจะถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ถูกระบุไว้จากเครื่องต้นทาง

การขยายเพิ่มเติมระบบ
                การขยายเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์เข้ามาในระบบนี้ค่อนข้างยุ่งยากกว่าเครือข่ายแบบ อื่น เพราะทุกครั้งที่เพิ่มคอมพิวเตอร์เข้ามา ก็จะต้องตัดต่อสายเคเบิลเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ซึ่งจะต้องปิดเครือข่ายก่อนจนกว่าจะเชื่อมต่อเสร็จ
  การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
                เมื่อสายเคเบิลช่วงใดขาด เครือข่ายก็ไม่สามารถรับส่งข้อมูลได้จนกว่าจะซ่อมแซมสายช่วงนั้นให้เรียบ ร้อยก่อน แต่จุดที่มีปัญหาในโครงสร้างเครือข่ายแบบนี้หาได้ไม่ยากนัก ซึ่งเครือข่ายแบบวงแหวนนี้มักจะมีวงแหวนคู่ในการรับส่งข้อมูลในทิศทางต่าง ๆ กัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรอง และป้องกันไม่ให้เครือข่ายหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง
  ค่าใช้จ่ายในการสร้างเครือข่ายแบบวงแหวนมีค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในวงแหวนทุกตัวจะต้องเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้น เดียว ซึ่งจะต้องใช้สายยาวมากขึ้น ถ้าคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องวางอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน
ข้อดี-  ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน

   ข้อเสีย
หากโหลดใดโหลดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

จับตาอนาคตทีวีไทย กับการเปลี่ยนแปลงจากระบบอนาล็อกสู่ดิจิตอล






ใบงานที่ 3
วิชา คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม
6531101




เรื่อง การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
จัดทำโดย
นายวงศธร   อินทมะโน
รหัส 565702021


จับตาอนาคตทีวีไทย กับการเปลี่ยนแปลงจากระบบอนาล็อกสู่ดิจิตอล

ขณะนี้หลายฝ่ายกำลังตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของวงการโทรทัศน์เมืองไทย หลังจากที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เผยว่า ได้เริ่มวางโครงการประมูลคลื่นโทรทัศน์ระบบดิจิตอล ซึ่งจะทำให้ประชาชนชาวไทยมีฟรีทีวีดูมากกว่า 24 ช่อง และคาดว่าภายใน 8 ปี หรือ ใน พ.ศ. 2563 จะมีการยกเลิกระบบอนาล็อกที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ทำให้เจ้าของสถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ จึงต้องเริ่มปรับตัวเพื่อเตรียมรองรับระบบใหม่ที่กำลังจะมาถึง ทว่า ทีวีจิตอล คืออะไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ทำไมการเปลี่ยนแปลงระบบในครั้งนี้ถึงดูยุ่งยากวุ่นวายนัก วันนี้เรามีคำตอบมาฝากจ้า 

โทรทัศน์ระบบดิจิตอล (Digital television) หรือที่เราเรียกกันว่า ทีวีดิจิตอล คือการส่งผ่านของคลื่นเสียงและวิดีโอโดยใช้สัญญาณดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งความคมชัดของภาพและเสียง และสามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบอนาล็อกในหนึ่งช่องสัญญาณ ดังที่เรียกว่า มัลติแคสติ้ง (Multicasting) ฉะนั้น แม้ตัวภาพและเสียงจะคมชัดกว่าแบบอนาล็อก แต่ก็ต้องใช้โทรทัศน์ระบบ HDTV รวมถึงติดตั้งกล่องรับสัญญาณด้วย แต่ข้อดีของระบบดิจิตอล คือ รองรับการใช้งานในรูปแบบสื่อผสมต่าง ๆ ทั้งสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ซึ่งจะทำให้ผู้ชมสามารถรับชมรายการได้ทุกที่ไม่มีสะดุด 

แต่การเปลี่ยนระบบในครั้งนี้ ยังมีข้อสงสัยว่า ทีวีดิจิตอล ทั้ง 24 ช่องนี้ สามารถดูผ่านจานรับดาวเทียมได้เหมือน ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง 11 และไทยทีบีเอส หรือไม่ แต่ถ้าดูผ่านจานรับดาวเทียมไม่ได้ คำถามใหม่ คือ สำหรับผู้ที่ติดจานดาวเทียมไปแล้วจะทำอย่างไร ระหว่างซื้อกล่องรับสัญญาณเพื่อดู 24 ช่อง หรือดูผ่านทีวีดาวเทียม 200 ช่อง นอกจากนี้ก็ยังมีคำถามอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย และเพื่อให้ได้รู้จักระบบดิจิตอลกันมากขึ้น เราได้สรุปข้อดีข้อเสียของระบบคร่าว ๆ มาดังนี้
 

ข้อดีของระบบดิจิตอล
 

- ภาพและเสียงคมชัด เพราะไม่มีคลื่นแทรก หรือการสะท้อน
 

- มีช่องรายการหลากหลายให้เลือกรับชม
 

- ควบคุมสัญญาณได้ง่าย ทำให้เปิดบริการเสริมได้ เช่นเดียวกับระบบเคเบิ้ลรายเดือน
 

- สามารถพัฒนาประสิทธิภาพได้ เช่น การรับชมผ่านโทรทัศน์จอกว้าง (WIDE SCREEN) โทรทัศน์ความคมชัดสูง (HDTV) รวมทั้งการรับชมผ่านทางสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต
 

ข้อเสียของระบบดิจิตอล
 

- ควบคุมโฆษณาที่เผยแพร่ผ่านช่องรายการต่าง ๆ ได้ยากขึ้น
 

- อาจกลายเป็นช่องทางที่ใช้เพื่อปลุกระดมความขัดแย้งทางการเมือง
 

- มีค่าใช้จ่ายในการซื้อกล่องรับสัญญาณมาติดตั้ง
 

- มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนจอโทรทัศน์เพื่อให้รองรับกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ
 

สำหรับประเด็นการควบคุมการเผยแพร่โฆษณาผ่านทางดิจิตอลทีวีนั้น คุณสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค มั่นใจว่า โฆษณาทางฟรีทีวี หรือ ช่องดิจิตอลนี้ จะควบคุมได้ง่ายกว่า ช่องเคเบิ้ล และทีวีดาวเทียม เพราะเป็นช่องที่เกิดใหม่พร้อมกับกติกาของ กสทช. และจำนวนนาทีในการโฆษณาจะมีน้อยกว่า ส่วนกรณีที่อาจมีการผลิตรายการเพื่อปลุกระดมให้เกิดความแตกแยก เกลียดชังนั้น รายการเหล่านี้ก็ต้องปรับผังรายการให้เข้ากับเงื่อนไขที่ กสทช. กำหนด ไม่เช่นนั้นก็จะไม่ได้ใบอนุญาต เป็นต้น
 

ในส่วนของการซื้อกล่องรับสัญญาณภาพนั้น เมื่อวันที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมา กสทช. มีมติเห็นชอบในแนวทางการแจกคูปองให้กับ 22 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนการจัดซื้อกล่องรับสัญญาณ (Set top box) ซึ่งวิธีนี้ถือเป็นกระบวนการเยียวยาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระบบในการส่งสัญญาณโทรทัศน์จากอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลในประเทศไทย
 

นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่า การเปลี่ยนแปลงระบบทีวีอนาล็อกมาสู่ทีวีดิจิตอลนี้ จะเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนรายใหม่ ๆ หันมาลงทุนในอุตสาหกรรมสื่อกันมากขึ้น และเป็นการลดการผูกขาดสื่อทีวีลงจากเดิม ซึ่งผู้บริโภคจะเป็นได้รับประโยชน์จากเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงระบบ ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาแนวทาง รวมถึงอยู่ระหว่างการทดสอบสัญญาณ ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่า จะมีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการที่ติดตั้งเคเบิ้ลทีวี หรือจานดาวเทียมต่าง ๆ หรือไม่ ดังนั้นคงต้องติดตามกันต่อไปว่า ทาง กสทช .จะมี บทสรุปเรื่องการปรับเปลี่ยนสัญญาณในครั้งนี้อย่างไรต่อไป


ทีวีดิจิทัล หรือ ทีวีดิจิตอล (Digital television)
โทรทัศน์ระบบดิจิทัล หรือ โทรทัศน์ดิจิตอล (Digital television) คือการส่งผ่านของเสียงและวิดีโอโดยสัญญาณดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งความคมชัดของภาพและเสียง การส่งข้อมูลแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบแอนะล็อกในหนึ่งช่องสัญญาณ จึงเรียกได้อีกอย่างว่า Multicasting การส่งสัญญาณเป็นแบบดิจิตอลจึงทำให้ได้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าด้วย เช่น โทรทัศน์ระบบ HDTV ตรงกันข้ามอะนาล็อกก็ใช้กับสัญญาณโทรทัศน์อะนาล็อก หลายประเทศจะเปลี่ยนการรับสัญญาณโทรทัศน์จากระบบอะนาล็อกเป็นโทรทัศน์ระบบดิจิทัล เพื่อออกอากาศโทรทัศน์แบบอะนาล็อกได้ จึงใช้วิทยุคลื่นความถี่เดิม โทรทัศน์แต่เดิมใช้ระบบอนาลอก (analog) หรือเชิงเส้นทั้งในภาคการส่งสัญญาณและภาครับสัญญาณ แต่ต่อมาเมื่อระบบคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาอย่างกว้างขวางขึ้น จึงได้มีการนำระบบคอมพิวเตอร์นำมาพัฒนาใช้ในการช่วยโทรทัศน์ แต่ต่อมาได้มีผู้เล็งเห็นว่าหากนำ เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์มาผสมผสานกับเทคโนโลยีของโทรทัศน์ คงจะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลคอมพิวเตอร์นั้นใช้ส่งสัญญาณ และรับสัญญาณในระบบดิจิตอล ดังนั้น จึงได้ปรับปรุงโทรทัศน์ให้ใช้ระบบดิจิตอลด้วย เนื่องจากโทรทัศน์ใช้กันทั่วโลก การเปลี่ยนระบบจากอนาลอกเป็นระบบดิจิตอล จึงต้องเปลี่ยนทั่วโลก ซึ่งคณะกรรมการสหภาพโทรคมนาคมสากล (ITU) กำลังประชุมกันอยู่ โดยกำหนดมาตรฐานดังนี้
1.ระบบแพร่ภาพดิจิตอลผ่านดาวเทียม (DVB-S The Digital Video Broadcasting Satellite System) ,
2.ระบบแพร่ภาพดิจิตอลผ่านสายเคเบิล (DVB-C the digital cable eleliverly system) และ
3. ระบบแพร่ภาพดิจิตอลภาคพื้นดิน (DVB-T the Digital Terrestrial Television System)
กลไกการทำงาน
เป็นระบบการรับส่งสัญญาณภาพและเสียงที่มีข้อมูลที่มีการเข้ารหัสเป็นดิจิตอล ทีมีค่า “0” กับ “1” เท่านั้น โดยมีกระบวนการต่าง ๆ ที่จะทำการแปลงสัญญาณภาพและเสียงให้เป็น ดิจิตอล มีการบีบอัดข้อมูล ทำการเข้ารหัสข้อมูล ก่อนที่จะทำการมอดูเลตข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้เพื่อส่งผ่านตัวกลางไปสู่ผู้รับปลายทาง ซึ่งต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับโทรทัศน์ระบบอะนาล็อก เมื่อสัญญาณดิจิตอลถูกส่งมายังเครื่องรับโทรทัศน์ จะผ่านกระบวนการบีบอัดข้อมูลสัญญาณดิจิตอล โดย MPEG-2 หรือ MPEG-4 ทำการถอดรหัส หลังจากนั้นสัญญาณจะถูกส่งไปยังหลอดภาพ แล้วหลอดภาพจะยิงลำแสงออกไปยังหน้าจอโทรทัศน์ ทำให้เกิด Pixel (จุดภาพ) บนจอภาพ ซึ่งในระบบ HDTV นั้นจะให้ภาพที่มีความละเอียดของ Pixel สูงกว่าโทรทัศน์ทั่วไปมาก จึงทำให้ภาพที่ออกมามีความคมชัด ละเอียด และไม่มีการกระพริบของสัญญาณภาพ ลักษณะการยิงลำแสง แบ่งได้ 2 แบบ คือ Interlaced Scanning และProgressive Scanning


  • 480i/576i (SDTV) เป็นสัญญาณโทรทัศน์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นแบบดิจิทัล
  • 480p/576p (EDTV) เป็นโทรทัศน์ที่มีความชัดเจนเพิ่มขึ้น (Enhanced Definition Television) หรือEDTV ที่ให้ภาพชัดเจนใกล้เคียงกับ HDTV ซึ่งดีกว่าที่รับชมกันในขณะนี้และทุกวันนี้สามารถ เล่นแผ่นดีวีดีทั้งหมดกับ EDTV ได้
  • 720p (HDTV) เป็น HDTV format ที่ให้คุณภาพใกล้เคียงกับ 1080i แต่ก็ยอมให้ส่งสัญญาณ 480p ได้ด้วย
  • 1080i (HDTV) เป็น HDTV image ที่มีคุณภาพของภาพที่คมชัดซึ่งเป็นแบบที่ผู้ให้บริการโทรทัศน์ใช้อยู่
ดิจิตอล คือ อะไร
ดิจิต แปลว่า นิ้ว ในสมัยโรมันการคิดเลขใช้วิธีนับนิ้ว ดังนั้น อะไรที่ใช้คิดเลขก็จะเรียกว่า ดิจิตอล เนื่องจากนิ้วมี 10 นิ้ว การนับจึงเรียกว่าเลขฐาน 10 คือ นับ ตั้งแต่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,0 เมื่อถึง 0 แล้วจะนับต่อต้องเอาเลขมาเรียงกันก็จะได้ 10,11,12,13,14,15 เป็นต้น มีวิธีนับอีกวิธีหนึ่ง ที่เรียกว่า เลขฐาน 2 คือ 1 และ 0 ตัวเลขฐาน 1 และ 0 ตัวเลขฐาน 2 นี้จะเรียงต่อกันไปและเปลี่ยนเป็นเลขฐาน 10 ได้เช่น 0 เท่ากับ 0 , 1 เท่ากับ 1 , 10 เท่ากับ 2 , 11 เท่ากับ 3 เป็นต้น ตัวเลข 0 และ 1 ที่วิ่งตามกันเป็นแถวก็จะสามารถปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้ถูกต้องได้ไม่ยาก เพราะไม่ใช่ 0 ก็ต้องเป็น 1 ไม่ใช่ 1 ก็ต้องเป็น 0 คอมพิวเตอร์ใช้สัญญาณดิจิตอล คือ เลข 0 และ เลข 1 เวลาส่งสัญญาณก็แปลงเป็นไฟฟ้าก่อน ที่ใดมีสัญญาณ 0 คือ ปิดสวิทซ์ ถ้าเปิดสวิตซ์ สัญญาณก็จะเป็น 1 ด้วยวิธีการเปิด และปิดสวิตซ์นี้ เราก็สามารถส่งสัญญาณดิจิตอลได้ การเปิดและปิดสวิตซ์นี้ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ จึงทำให้เปิด-ปิดได้เร็วและเรียบร้อย
คอมพิวเตอร์เข้ามาในโทรทัศน์ได้อย่างไร
ในระยะแรกคอมพิวเตอร์เข้ามาในวงการโทรทัศน์เพื่อมาช่วยในบริหารและการจัดการ เช่น คิดบัญชี ทำบัญชีสิ่งของ ทำบัญชีบุคลากร และการใช้เป็นเครื่องมือในสำนักงาน เป็นต้น ต่อมาก็ใช้ในการทำระบบอัตโนมัติในสำนักงาน ใช้ในการช่วยส่งข่าวบ้าง ใช้ในการบันทึกข้อความบ้าง ต่อมาเมื่อมีระบบกราฟิกเข้ามา ได้ใช้คอมพิวเตอร์ทำตัวอักษรและทำกราฟิกต่างๆ ตลอดจนช่วยในการทำภาพโฆษณาต่างๆ ตลอดจนช่วยในการทำภาพโฆษณา ภาพพิเศษต่างๆ ภาพที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นทำได้สวยงามวิจิตรพิสดารเป็นอย่างมาก เช่น ภาพนกกินหยดน้ำ นกที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์สวยยิ่งนัก ทำให้เกิดภาพอื่นๆ ขึ้นมาอีกมากมายหลายแบบ จนกระทั่งทำให้ภาพนิ่งเคลื่อนไหวได้ (Animation) ตัวการ์ตูนตัวเดียว สามารถเคลื่อนไหวได้สารพัด ทำให้ สามารถสนองตอบจินตนาการของผู้สร้างภาพยนตร์การ์ตูน ได้เป็นอย่างดีทั้งนี้เพราะดิจิตอลสามารถเปลี่ยนแปลง และแปรผันได้ตามโปรแกรมที่จัดเข้ามา 

การบันทึกภาพในระบบอนาลอกนั้น เมื่อนำไปกระทำซ้ำต่อกันหลายครั้ง ภาพจะมีคุณภาพลดลง คือ ไม่ชัดเท่ากับต้นฉบับ แต่ในระบบดิจิตอลนั้นแม้จะนำไปกระทำซ้ำ ต่อเนื่องกันหลายสิบครั้งภาพก็ยังคงมีคุณภาพคงเดิม ด้วยข้อดีนี้จึงมีการนำเอาระบบดิจิตอล มาใช้ในเครื่องบันทึกภาพโทรทัศน์และเครื่องบันทึกภาพ แบบอื่นๆ ต่อมาได้มีการพัฒนากล้องโทรทัศน์ให้เป็นระบบดิจิตอลบ้าง การนำเอาดิจิตอลมาใช้กับกล้องโทรทัศน์นี้ มิใช่ว่าจะทำให้คมชัดอย่างเดียวเพราะกล้องที่คมชัดมากๆ ภาพจะไม่สวย เพราะจะเห็นสิวฝ้า ตลอดจนรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า ชนิดที่เจ้าของหน้าเห็นเข้าอาจเป็นลมไปเลยก็ได้ แต่ดิจิตอลมีข้อดีตรงที่บังคับ และเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ เพียงกดปุ่มอัตโนมัติ ใบหน้าที่เต็มไปด้วยสิวและรอยเหี่ยวย่นก็จะกลายเป็นหน้าที่มีผิวสีชมพูระเรื่อ ผิวเนียนอย่างนางงามผิวเนียนอะไรอย่างนั้น แต่ก็จะเป็นเฉพาะบางกล้องเท่านั้น เพราะกล้องดิจิอตอลที่คุณภาพต่ำก็มี แต่ถ้าคุณภาพสูง ภาพจะสวยแต่ราคาก็จะแพงมากเช่นกัน
 

เมื่อกล้องก็เป็นดิจิตอลแล้วอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องตัดต่อภาพ เครื่องลำดับภาพ เครื่องทำภาพพิเศษ เครื่องกำเนิดสัญญาณซิงค์ เครื่องกระจายสัญญาณและเครื่องควบคุมอื่นๆ ก็ได้รับการพัฒนาให้เป็นดิจิตอลไปด้วยรวมถึงทั้งอุปกรณ์ห้องส่ง หรืออุปกรณ์ห้องผลิตรายการทั้งหมด แม้แต่การบังคับไฟที่ให้แสงในการถ่ายทำก็บังคับด้วยดิจิตอล รวมความแล้ว่าระบบในห้องส่งโทรทัศน์ได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบเป็นดิจิตอลทั้งหมด สายที่ส่งสัญญาณเข้ามาก็ถูกเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอล แต่การส่ง สัญญาณ จากสถานีไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ตามบ้านผู้ชมนั้นยังไม่ได้ ใช้ระบบดิจิตอล เพราะเครื่องรับโทรทัศน์ของผู้ชมยังเป็นอนาลอกอยู่ การที่จะเปลี่ยนเครื่องรับหลายพันล้านเครื่องให้เป็นระบบดิจิตอล โดยโยนเครื่องเก่าทิ้งหมดนั้นทำไม่ได้ เป็นการเดือดร้อนต่อประชาชนผู้รับชมแต่ความจำเป็นในการเปลี่ยนระบบก็ยังคงมีเพราะทุกวันนี้ความถี่วิทยุมีจำนวนจำกัด ส่วนสถานีวิทยุโทรทัศน์ตลอดจนการสื่อสารต่างๆ เกิดขึ้นทุกวันจึงมีความจำเป็นต้องใช้ความถี่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้นระบบดิจิตอลจึงสามารถตอบรับความต้องการนี้ได้เป็นอย่างดีเพราะระบบดิจิตอลสามารถบีบอัดความกว้างของช่องสัญญาณให้ลดลง ทำให้สามารถเพิ่มช่องทางการส่งสัญญาณได้อีกมากมาย
 


ตัวอย่างเช่น ดาวเทียม 1 ดวงมี ช่อง สัญญาณดาวเทียม 12 ช่องสัญญาณถ้าจะส่งโทรทัศน์ในระบบอนาลอกไม่มีการบีบอัดสัญญาณจะส่งได้ ทั้งหมด 24 ช่องโทรทัศน์ คือ 2 ช่องต่อ 1 ทรานสปอนเดอร์ แต่ถ้าส่งในระบบดิจิตอลและมีการบีบอัดสัญญาณ (Compression) จะสามาระส่งได้ถึง 10 ช่อง โทรทัศน์ต่อ 1 ทรานสปอนเดอร์ ดาวเทียมดวงหนึ่ง 12 ทรานสปอนเดอร์ จะส่งโทรทัศน์ได้ถึง 120 ช่อง สายเคเบิลก็เช่นเดียวกัน ถ้าส่งในระบบอนาลอกก็จะส่งได้น้อยช่องกว่าส่งด้วย
 
ระบบดิจิตอลที่มีการบีบอัดสัญญาณ
การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลนั้นได้เริ่มต้นโดยการส่งสัญญาณผ่านทางดาวเทียมและโทรทัศน์ทางสาย หรือ เคเบิลเทเลวิชั่น (Cable Television) และเนื่องจากระบบดิจิตอลนี้ ควบคุมได้ง่าย การสั่งการก็ง่าย จึงเกิดโทรทัศน์ 2 ทางขึ้นและเกิดรายการ เปย์เปอร์วิว (Pay Per View) หรือการรับชมรายการที่ต้องจ่ายเงินเป็นรายเรื่อง และเนียร์วีดิโอออนดีมานด์ (Near video on Demand) คือการรับชมตามเวลาที่กำหนดโดยต้องจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือนและ วิดิโอออนดีมานด์ (Video on Demand) คือ การรับชมรายการใดก็ได้ตามรายการที่ระบุไว้โดยต้องจ่ายค่าบริการเป็นรายเดือน 

ส่วนการรับสัญญาณนั้นก็จำเป็นจะต้องให้เครื่องรับโทรทัศน์ที่ใช้อยู่เดิมรับได้ด้วย ดังนั้นหากใครต้องการที่จะรับโทรทัศน์จากดาวเทียมก็ต้องมีจานรับประกอบกับอุปกรณ์ร่วม คือ กล่องไออาร์ดี (IRD) ซึ่งต้องนำมาติดตั้ง กับเครื่องรับโทรทัศน์ก็จะสามารถรับโทรทัศน์ จากดาวเทียมในระบบดิจิตอลได้ ซึ่งเรารู้จักกันในนาม ดีทีเอช ( DTH ) หรือ ไดเร็คทูโฮม ( Direct to home ) โดยจานจะรับสัญญาณจากดาวเทียมมาขยายและส่งเข้ากล่องไออาร์ดี กล่องนี้จะแปลงสัญญาณดิจิตอลจากดาวเทียมให้เป็นสัญญาณโทรทัศน์ ในระบบอนาล็อกแล้วส่งไปยังเครื่องรับโทรทัศน์
 

ส่วนระบบเคเบิลทีวีก็มีกล่องอยู่ด้านหน้าหรือด้านบนของเครื่องรับโทรทัศน์เดิมเช่นกัน เรียกว่า
เซททอปบ๊อก (Set top box) กล่องนี้ก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณโทรทัศน์ในระบบอนาล็อกและเปลี่ยนช่องสัญญาณส่งเข้าเครื่องรับโทรทัศน์ ส่วนการควบคุมการใช้ทางเคเบิลทีวีก็จะควบคุมจากรีโมทคอนโทรลและเนื่องจากเป็นระบบดิจิตอล การควบคุมก็จะทำได้อย่างสะดวก การสั่งฉายภาพยนตร์เรื่องที่ต้องการก็สามารถสั่งได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ หรือเปลี่ยนช่องสัญญาณได้ง่ายการปรับแต่งต่าง ๆ ทำได้ง่าย ๆ 
การพัฒนาโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestial Television)
ในขณะที่โทรทัศน์จากดาวเทียมขยายกิจการมากขึ้น มีการถ่ายทอดข้ามโลกและครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น ทางเคเบิลทีวีก็พัฒนาระบบมากขึ้น มีการให้บริการมากขึ้น ทางโทรทัศน์ที่ส่งด้วยสายอากาศภาคพื้นดิน ก็ต้องขยับตัวเพราะต้องการช่องสัญญาณมากขึ้น การพัฒนาโทรทัศน์ภาคพื้นดินนั้น มีความพยายามที่จะเพิ่มสถานีโทรทัศน์ให้มากขึ้นโดยการใช้ช่องสัญญาณความถี่ในย่านยูเอชเอฟ นอกจากนั้นยังมีความพยายามทำโทรทัศน์ให้มีความคมชัดมากขึ้น และมีรายละเอียดมากขึ้นที่เรียกว่า เอชดีทีวี (HDTV) แต่ก็ต้องเลิกล้มไปเพราะเห็นว่าระบบที่พัฒนานั้นเป็นระบบอนาลอก ซึ่งจะพัฒนาต่อไปก็คงยากจึงหันมาพัฒนาโทรทัศน์ HDTVในระบบดิจิตอลแทน
การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล (Digital)
เดิมทีการส่งโทรทัศน์จะส่งในระบบอนาลอก ( Analog ) แต่เมื่อมีสถานีส่งโทรทัศน์มากขึ้นก็เกิดปัญหาการรบกวนเกิดขึ้น เพราะความถี่มีจำนวนจำกัด การส่งโทรทัศน์ในระบบอนาลอกนั้น ในเมืองเดียวกันจะส่งความถี่ใกล้เคียงกันไม่ได้ ต้องส่งช่องเว้นช่อง เช่นใน กทม. ส่งช่อง 3 5 7 9 11 จะส่งช่อง 2 4 6 8 10 12 ไม่ได้ ถ้าจะส่งช่อง 2 4 6 8 10 12 จะต้องส่งให้ห่างจาก กทม. อย่างน้อย 200 กม. เช่นที่ นครสวรรค์ ระยอง หรือ ประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่น ๆ อีก อาทิ
1. สัญญาณรบกวนจากอุปกรณ์ไฟฟ้าและแม่เหล็กอื่น ๆ ทำให้ภาพไม่คมชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องต่ำ
2. สัญญาณที่ส่งมาจากสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์อื่น ๆ มารบกวนทำให้รับไม่คมชัด
3. สัญญาณที่สะท้อนจากตึก สิ่งปลูกสร้าง หรือภูเขาทำให้เกิดเงาที่จอเครื่องรับโทรทัศน์ ทำให้ได้รับไม่ ชัดเจนและน่ารำคาญ
4. เนื่องจากไม่สามารถบีบอัดสัญญาณได้ จึงต้องใช้ความถี่มากทำให้มีสถานีได้น้อย
5. การที่จะส่งสัญญาณอื่น ๆ ร่วมไปด้วยทำได้โดยยาก
ยังมีเหตุผลอื่น ๆ อีก แต่เหตุผลที่สำคัญคือ การมีช่องสัญญาณน้อยไม่พอใช้ จึงต้องนำระบบดิจิตอล มาแก้ปัญหาเพื่อให้มีช่องสัญญาณออกอากาศรายการได้มากขึ้น

ประโยชน์ของการส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล
 การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลนั้นได้ประโยชน์หลายประการ เช่น
1.ทำให้ใช้ประโยชน์จากช่องสัญญาณได้มากขึ้น เช่น เดิม 1 ช่องใช้ได้ 1 รายการ เมื่อหันมาใช้ระบบดิจิตอล มีการบีบอัดสัญญาณ ( Digital Compression ) ก็จะสามารถส่งได้ถึง 4-6 รายการทางภาคพื้นดิน และ 8-10 รายการทางดาวเทียม
2. ให้บริการเสริมได้ ( ถ้ากฎหมายอนุญาต )
3. สามารถรับชมขณะอยู่ในพาหนะเคลื่อนที่ได้ เช่น รับโทรทัศน์บนรถยนต์ได้ชัดเจนในบางความถี่
4. สามารถให้บริการฟรี ( Free to Air ) หรือบริการเก็บค่าสมาชิกได้
5. ค่าใช้จ่ายในการออกอากาศต่อ 1 รายการลดลง เพราะเครื่องส่ง 1 เครื่อง สามารถส่งได้หลายรายการ
6. พัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้ เพื่อรับกับวิวัฒนาการของการส่งและรับโทรทัศน์ในอนาคต เช่น โทรทัศน์จอกว้าง ( WIDE SCREEN ) โทรทัศน์ความคมชัดสูง ( HDTV )
7. ประหยัดพลังงานในการส่งโทรทัศน์ เนื่องจากเครื่องส่งใช้กำลังออกอากาศลดลง
8. คุณภาพในการรับชมดีขึ้น ไม่มีเงา การรบกวนน้อย เพราะถ้าจะรับได้ชัดก็ชัดเลยแต่ถ้าอยู่ในที่รับไม่ชัดก็จะรับไม่ได้ ดังนั้นหากต้องการรับชมก็ต้องขวนขวายหาวิธีรับจากทางอื่น เช่น จากเคเบิลทีวี หรือจากดาวเทียม ซึ่งถ้ารับได้ก็จะได้ชัดเจนไม่มีเงาและสิ่งรบกวน หรือถ้ามีการรบกวนก็จะมีในเปอร์เซ็นต์ที่น้อยมาก
การรับโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล
เมื่อมีการส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล เป็นการส่งในเชิงตัวเลข แต่เครื่องรับโทรทัศน์ในปัจจุบัน เป็นเครื่องรับแบบอนาลอก ซึ่งมีอยู่มากมาย ทั่วโลกนับพันล้านเครื่อง เฉพาะในประเทศไทยมีถึง 15,586,000 เครื่อง ( ตามข้อมูลของสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย ) ถ้าจะให้ทิ้งเครื่องรับโทรทัศน์เก่าทั้งหมด ก็จะเป็นปัญหาแน่ คือ
1. จะเอาเงินที่ไหนมาซื้อเครื่องใหม่ซึ่งจะประมาณเท่ากับ 15 ล้าน คูณด้วย 1 หมื่นบาท เท่ากับ 1 แสนห้าหมื่นล้านบาท
2. การที่จะสร้างเครื่องรับ 15 ล้านเครื่องในวันเดียวกันนั้นทำไม่ได้ดังนั้นจึงต้องใช้เครื่องรับโทรทัศน์เก่าไปก่อนและ แก้ปัญหาโดยทางสถานีโทรทัศน์ส่งสัญญาณทั้งในระบบอนาลอกแบบเดิม และส่งในระบบดิจิตอลควบคู่กันไป ผู้ใดที่ต้องการรับในระบบอนาลอกกรับไป ผู้ใดต้องการรับในระบบดิจิตอลก็รับไป
การรับสัญญาณในระบบดิจิตอลใช้เครื่องรับในระบบอนาลอกธรรมดานั้นเพียงแต่ติดเซททอป (SET TOP) ไว้ที่ด้านหน้าเพื่อแปลงสัญญาณดิจิตอลให้เป็นอนาลอกก่อนที่รับสัญญาณจากสายอากาศและถ้ามีการบีบอัดสัญญาณด้วย ก็จะต้องมีเครื่องขยายสัญญาณจากสายอากาศและถ้ามีการบีบอัดสัญญาณด้วย ก็จะต้องมีเครื่องขยายสัญญาณออกให้เท่าเดิมจึงจะรับกันได้ หรือมีเครื่องที่รับได้เฉพาะสมาชิกบอกรับก็จะต้องมีเครื่องถอดรหัสสมาชิกบอกรับด้วย
ปัญหาที่จะเกิดก็คือเครื่องเซททอป (SET TOP) ราคายังค่อนข้างแพง ถ้าเครื่องนี้มีราคาถูกลงก็จะทำให้คนรับโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลมากขึ้น ผู้ประกอบการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลจึงต้องคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นอย่างมาก แต่เมื่อมีความจำเป็นต้องส่งออกอากาศให้ได้ ทุกฝ่ายก็ต้องหาทางเอาเองเช่น
1. ทำเครือข่ายเล็ก ๆ ซึ่งเมื่อคำนวณค่าเครื่องรับแล้วมีไม่เกิน 1000 เครื่อง ค่าใช้จ่ายก็คงไม่มาก
2. ในที่ที่ไม่สามารถจะส่งระบบอนาลอกได้จริง ๆ ก็จำเป็นที่จะส่งในระบบดิจิตอล เช่น ในท้องถิ่นที่ความถี่เต็มแล้วหรือโทรทัศน์ท้องถิ่น เป็นต้น
3. ทางด้านการศึกษาซึ่งต้องการรายการมาก เนื่องจากมีหลายสาขาวิชาและแต่ละสาขาก็มีวิชาที่จะต้องสอนอย่างหลากหลาย ดังนั้นการที่จะไปสร้างสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินตั้ง 20 ช่อง ก็คงไม่มีทางเป็นไปได้ แต่ถ้าส่งในระบบดิจิตอลไปยังผู้รับชมกลุ่มเป้าหมายจำนวนจำกัดก็คงไม่ต้องใช้งบประมาณมากนัก
4. สถานีที่ทำไว้เพื่อความทันสมัยในวันข้างหน้า ควรทำการส่งในระบบดิจิตอลทางภาคพื้นดินขนาน ไปกับการส่งในระบบอนาลอกด้วย รายการเดียวกัน อาทิเช่น สถานโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในอนาคต ข้างหน้าอาจส่งออกอากาศทั้ง 2 ระบบ ดังนั้นใครรับช่อง 3 ไม่ชัดก็สามารถหันไปรับสัญญาณในระบบดิจิตอลได้ ทำให้ประชาชนมีทางเลือก ระยะแรกคนที่รับดิจิตอลก็อาจมีไม่มากนัก แต่เมื่อเซททอปมีราคาถูกลงหรือมีผู้ทำเครื่องรับโทรทัศน์ที่รับได้ทั้งอนาลอกและดิจิตอลในตัวของมันเองขึ้นมา ราคาก็คงจะไม่แพงมากนัด เหมือนกันซื้อเครื่องรับธรรมดากับเครื่องรับที่รับได้ทุกระบบทั่วโลกในขณะนี้ ซึ่งผู้ซื้อไม่รู้สึกว่าแพงเลย แต่มีความคมชัดมาก
5. โทรทัศน์ 2 ทาง ซึ่งใช้ในการศึกษา การแพทย์ การประชุมทางไกล และอื่น ๆ ที่ใช้ดิจิตอล
6. มหาวิทยาลัย โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน วิทยาลัย กิจการทหารและกิจการพิเศษบางอย่างจะใช้ดิจิตอล เพราะต้องการนำเสนอรายการมากรายการ
7. โทรทัศน์ท้องถิ่นจะใช้ดิจิตอล เพราะเป็นเครื่องส่งเล็กสามารถใช้ความถี่ซ้ำกันได้
8. โทรทัศน์พิเศษอื่น ๆ เช่น โทรทัศน์เพื่อคนพิการ โทรทัศน์เพื่อการกีฬา จะใช้ดิจิตอล เพราะสามารถส่งข้อมูลอื่นควบคู่ไปได้ด้วย
9. โทรทัศน์โรงแรมซึ่งมีรายการพิเศษเฉพาะในโรงแรมของตนจะใช้ระบบดิจิตอล เพราะความสามารถให้ความหลายหลายทางด้านรายการกับผู้มาใช้บริการและที่สำคัญค่าใช้จ่ายต่อรายการถูกกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
10. โทรทัศน์สมาชิกบอกรับ จะใช้ดิจิตอล เพราะต้องการช่องรายการมาก
11. โทรทัศน์ที่มีความคมชัดสูง (HDTV)
12. โทรทัศน์กิจการพิเศษ ซึ่งใช้เฉพาะกลุ่มเป้าหมายในเชิงปิดลับจะใช้ดิจิตอล
13. โทรทัศน์ผ่านโครงข่ายโทรคมนาคม (Telecom Network) เช่น อินเทอร์เน็ต ฯลฯ

โทรทัศน์ระบบดิจิตอลในไทย
ในประเทศไทยจะใช้ DVB เป็นมาตรฐานหลักในการออกอากาศระบบดิจิทัล ทั้งภาคดาวเทียม และเคเบิล (DVB-S, DVB-C) ที่มีผู้ให้บริการหลายราย ทั้งแบบบอกรับสมาชิก และแบบซื้อขาดไม่มีรายเดือน ส่วนภาคพื้นดินนั้นเดิมทีจะใช้ระบบ DVB-T ซึ่งเคยมีการทดสอบเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2543 ถึงพฤษภาคม 2544 จากตึกใบหยก 2 แต่ความล้าช้าของการออกกฎหมาย กสทช. ผ่านมา 10 ปี เทคโนโลยี DVB พัฒนาดีขึ้น ประเทศไทย และสมาชิกอาเซียนจึงมีการตกลงจะใช้ระบบ DVB-T2 ประเทศไทยต้องรอการอนุญาตจาก กสทช. ก่อน ซึ่งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 จะประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เพื่อเริ่มนำร่องโครงการทดลอง ดิจิทัล ทีวี ภาคพื้นดิน และในรูปแบบโทรศัพท์ที่สามารถดูโทรทัศน์ได้ เป็นลำดับแรกในเดือนมิถุนายน 2555[3] การทดลองดิจิทัลทีวี DVB-T2 เคยทดลองมาแล้วโดยช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2554 และจะยุติระบบอะนาล็อกในปี พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2563

มาตรฐานการส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล
การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลมีการส่งในมาตรฐานต่างกัน เช่น
1.ประเทศอเมริกาใช้มาตรฐาน เอทีเอสซี (ATSC) ซึ่งย่อมาจาก อเมริกัน แอดวานซ์ เทเลวิชั่น ซิสเต็ม ( AMERICAN ADVANCE TELEVISION SYSTEM ) ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่ ปี ค.ศ.1998
2.ยุโรป ใช้มาตรฐาน ดีวีบี (DVB) ย่อมาจาก ดิจิตอลวิดิโอ บรอดคาสติ้ง ( DIGITAL VIDEO BROADCASTING ) ติดตั้งและใช้งานในปี 1998
3.ญี่ปุ่นใช้มาตรฐาน ไอเอสดีบี (ISDB) ย่อมาจากคำว่า อินทีเกรดเต็ด เซอร์วิส ดิจิตอล บรอดคาสติ้ง (INTEGRATED SERVICE DIGITAL BROADCASTING) ในปี ค.ศ.1998
ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็ได้เริ่มทดลองใช้งานหรือศึกษาว่าจะใช้ระบบใด เช่น จีน ไต้หวัน ใช้ระบบอเมริกัน (ATSC) กลุ่มประเทศยุโรป สแกนดิเนเวีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ใช้ระบบ ดีวีบี (DVB) สำหรับสิงคโปร์ติดตั้งและทดลองใช้ทั้ง 2 ระบบ คือทั้งอเมริกัน (ATSC) และยุโรป (DVB) ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะค้าขาย 2 ระบบนี้ ผ่านประเทศของตนเองสำหรับลูกค้าในภูมิภาคนี้ เพราะเล็งเห็นว่าลูกค้าสามารถจะไปดูตัวอย่างสถานีที่สิงคโปร์ได้ง่ายเพราะใกล้กว่าค่าใช้จ่ายถูกกว่า และสิงคโปร์ก็สามารถเรียกเก็บค่าบริการได้อย่างสบาย และเนื่องจากสิงคโปร์ไม่มีความประสงค์จะแข่งขันกับญี่ปุ่นจึงไม่นำระบบของญี่ปุ่นมาติดตั้ง ส่วนประเทศไทยจะคิดอย่างไรก็ไม่ทราบ ขอกราบเรียนว่าน่าจะใช้ระบบเดียวกันก็จะดี เพราะจะเป็นผลดีกับประชาชน จะได้ไม่ต้องซื้อเครื่อง 2 ระบบ อย่างระบบเสียง 2 ภาษาซึ่งมี 2 ระบบอย่างทุกวันนี้ ส่วนถ้าจะคิดค้าขายแบบสิงคโปร์ก็ควรจะตั้งสถานีระบบอเมริกันเพียงสถานีเล็กสถานีเดียวก็พอ เรื่องนี้สุดแต่จะพิจารณา

ระบบการส่งและการรับโทรทัศน์
การส่งและรับโทรทัศน์ในอนาคตอันใกล้นี้ น่าจะเป็นดังนี้
1. การส่งและรับโทรทัศน์ในระบบอนาลอกโดยคลื่นความถี่ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television)
2. การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลด้วยคลื่นความถี่ภาคพื้นดิน (Digital Terrstrial Television)
3. การส่งโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในระบบอนาลอก
4. การส่งโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมในระบบดิจิตอล
5. การส่งโทรทัศน์ระบบสมาชิกบอกรับ ชนิดไร้สาย หรือระบบมัลติพอยท์ มัลติแชนแนล ดิสทริบิวชั่น ซีสเต็ม (Multipoint Multichannel Distribution System) หรือ MMDS เป็นการส่งโทรทัศน์โดยใช้คลื่นผ่านไมโครเวฟเป็นตัวกระจายคลื่น 1-2.3 จิกะเฮิรตซ์ ความถี่ย่านนี้จะรับโดยใช้ระบบอนาลอก
6. การส่งโทรทัศน์ระบบสมาชิกบอกรับชนิดไร้สาย หรือ MMDS โดยใช้ระบบดิจิตอล
7. การส่งเคเบิลทีวีชนิดใช้สายในระบบอนาลอก
8. การส่งเคเบิลทีวีชนิดใช้สายในระบบดิจิตอล
9. การให้บริการโทรทัศน์โดยผ่านโครงข่ายโทรคมนาคมในระบบดิจิตอล
10. การส่งโทรทัศน์โดยการบีบอัดสัญญาณในระบบดิจิตอล ผ่านดาวเทียม
11. การส่งโทรทัศน์ 2 ทาง ( Interactive Television ) ในระบบดิจิตอล
12. การส่งโทรทัศน์ 2 ทาง โดยผ่านดาวเทียมทางหนึ่ง และผ่านเคเบิลใยแก้อีกทางหนึ่ง
13. การส่งโทรทัศน์ความคมชัดสูงผ่านดาวเทียม (HDTV VIA SATELLITE)
14. การส่งโทรทัศน์ความคมชัดสูงผ่านเคเบิลในระบบดิจิตอล

การแพร่ภาพโทรทัศน์
โทรทัศน์ (television)การถ่ายทอดเสียงและภาพพร้อมกันจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยเครื่องที่เปลี่ยนสัญญาณภาพและเสียงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า เครื่องส่งโทรทัศน์ และเครื่องที่เปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสัญญาณภาพและเสียง เรียกว่า เครื่องรับโทรทัศน์โทรทัศน์แอนะล็อก (analog television) คือ โทรทัศน์ที่มีระบบการรับ- ส่งสัญญาณภาพและเสียงในรูปสัญญาณแอนะล็อกแบบ A.M. และ F.M เช่น โทรทัศน์ที่ระบบ NTSC PAL และ SECAM ซึ่งก็คือโทรทัศน์ทั่วไปที่ใช้ตามบ้านเรือนโทรทัศน์ดิจิตอล (digital television) คือ โทรทัศน์ที่มีระบบการรับ ส่งสัญญาณภาพและเสียงในรูปดิจิตอลคือส่งข้อมูลเป็นบิต ซึ่งหลายช่องสัญญาณที่มีความถี่เดียวกันสามารถนำมาส่งเป็นช่องสัญญาณเดียวกันได้ โทรทัศน์ดิจิตอลจะให้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าแบบแอนะล็อก เช่น HDTV
  • 1.ระบบเอ็นทีเอสซี (NTSC) เป็นระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ของประเทศสหรัฐอเมริกาย่อมาจาก Nation Television System Committee โดยมีการส่ง 525 เส้น 30 ภาพต่อวินาที อาจเรียกระบบนี้ว่าระบบ เอฟซีซี(FCC) ระบบนี้ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจของประเทศสหรัฐอเมริกา
  • 2.ระบบพัล (PAL) ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ย่อมาจาก Phase Alternative Line อาจเรียกว่าระบบ ซีซีไออาร์ (CCIR) ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบโทรทัศน์สีเอ็นทีเอสซี โดยมีการส่ง 625 เส้น 25 ภาพต่อวินาที เช่น ระบบการส่งโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์ไนประเทศไทย
  • 3.ระบบซีแคม (SECAM) ระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ของประเทศฝรั่งเศสย่อมาจาก Se'quantiel Couleur à Me'moire (sequential color with a memory) โดยมีการส่ง 625 เส้น 25 ภาพต่อวินาที เป็นระบบที่ใช้ในประเทศฝรั่งเศส ประเทศทางแถบยุโรปและแอฟริกา
การที่จะรับและส่งข้อมูลข่าวสารมีได้หลายวิธี แต่การที่จะรับและส่งข้อมูลได้ดีคือการที่ผู้รับสามารถรับข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง การแพร่ภาพโทรทัศน์เป็นการส่งข้อมูลอีกวิธีหนึ่งที่สามารถที่ให้ผู้รับได้ทั้งข้อมูลทางภาพและทางเสียงเหมือนกับแหล่งที่มา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ การแพร่ภาพโทรทัศน์แบบแอนะล็อก และการแพร่ภาพโทรทัศน์แบบดิจิตอล ซึ่งการแพร่ภาพในแต่ละประเภทสามารถรับและส่งข้อมูลได้หลายแบบ เช่น การส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิล การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม และ การส่งสัญญาณภาคพื้นดิน ซึ่งอาจจะมากจากการถ่ายทอดสดหรือจากการบันทึกเทปไว้
20 ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับ ทีวีดิจิตอล
1. ทีวีดิจิตอล ต้องใช้เสาอากาศ เช่นเดียวกับ เสาอากาศทุกวันนี้  เพราะฉะนั้นใครอยากดูต้องใช้ด้วย แต่ใครถอดออกไปแล้วก็ไม่ต้องรีบซื้อ  เพราะอาจใช้เสาอากาศแบบในบ้านได้ ( หนวดกุ้ง )
2. เสาอากาศ สำหรับทีวีดิจิตอล สามารถใช้แบบ ในบ้าน หรือ นอกบ้านก็ได้ เพราะการส่งระบบดิจิตอลมีแต่รับได้ กับรับไม่ได้  ระบบดิจิตอล ( 0 กับ 1 ) จะไม่มีภาพเป็น ลายๆ เหมือนระบบเก่า  
3. ทีวีดิจิตอลรับสัญญาณระบบ UHF ดังนั้น ไม่ต้องใช้แผงเสาอากาศใหญ่เหมือนระบบเก่า ใช้แค่แผงเล็กๆ ที่รับช่อง Thai TPBS กับ ช่อง 3 ได้ก็สามารถรับระบบทีวีดิจิตอลได้เหมือนกัน
4. ทีวีดิจิตอลส่งระบบ DVB-T2 เป็นระบบ Mpeg4 ทีวีทุกระบบรับได้ โดยใช้กล่องรับสัญญาณระบบ DVB-T2  แต่ถ้าทีวีมีช่อง HDMI ภาพที่ออกมาจะก็จะชัดกว่าการเสียบสาย AV เป็นอย่างมาก
5. ทีวีดิจิตอลส่งระบบ DVB-T2 ( Mpeg4 ) ดังนั้น ถ้ากล่องเป็นระบบ DVB-T ( Mpeg2 ) จะรับสัญญาณไม่ได้
6. ทีวีระบบเก่า เอาสายจากเสาอากาศมาต่อที่ทีวีได้เลย  แต่ ระบบเครื่องรับทีวีของไทยยังไม่รองรับระบบดิจิตอลนี้จึงต้องมีกล่องรับสัญญาณDVB-T2 เช่นเดียวกับ กล่องรับสัญญาณดาวเทียม ก่อนที่จะต่อเข้าทีวีอีกที
7. กสทช. มีกฎว่า ทุกช่องที่ออกอากาศทาง ทีวีดิจิตอล ต้องส่งผ่านดาวเทียมด้วย  ดังนั้น ใครมีกล่องรับสัญญาณดาวเทียมอยู่แล้วต้องรับได้แน่นอน ยกว้นช่องที่เป็น HD 4 ช่องต้องใช้เครื่องที่เป็น HD เท่านั้นถึงจะรับได้!
8. ทีวีดิจิตอล ส่งสัญญาณระบบ UHF ดังนั้น แต่ละพื้นที่จึงรับสัญญาณได้ไม่เท่ากัน พื้นที่ใดสัญญาณอ่อนต้องมีเสาในการทวนสัญญาณ เพื่อให้แต่ละพื้นที่ไม่มีปัญหาในการรับชม 
9. ทีวีดิจิตอลจะมีข้อดี ตรงที่ไม่ต้องติดจานดาวเทียม เข้าถึงบ้านเรือนทั่วไปได้มากกว่าการติดจานดาวเทียม  
10. ทีวีดิจิตอล มีการไปร่วมกับ เครื่องรับแบบอื่นๆ ได้มากมาย เช่น DVB-T2+DVD , DVB-T2+ Android , DVB-S2+DVB-T2 , DVB-T2 for Car , …….
11. ทีวีระบบดิจิตอลในรถยนต์ ภาพก็จะชัดเหมือนติดจานดาวเทียมบนรถ โดยไม่ต้องกลัวโดนขโมย หรือ ภาพจะล้มเวลาผ่าน ต้นไม้  หรือ สิ่งกีดขวาง   
12. ทีวีดิจิตอล แต่ละประเทศใช้ระบบไม่เหมือนกัน หากนำทีวี หรือ อุปกรณ์อื่น เข้ามาใช้คนละระบบกับของไทยจะใช้ไม่ได้ เช่น  ของอเมริกา ใช้ระบบ ATSC , ของญี่ปุ่นใช้ระบบ ISDB-T , ของจีนใช้ระบบ DTMB
13. ทีวีดิจิตอล สามารถดูผ่าน สมาร์ทโฟน ต่างๆ หรือ แทบเล็ตได้ ขึ้นอยู่กับ App หรือ ฟังก์ชั่นของเครื่องด้วย
14. ทีวีดิจิตอลจะได้เปรียบ ทีวีดาวเทียม อย่างหนึ่ง คือ หากมีการถ่ายทอดสด รายการกีฬาสำคัญๆ ทีวีดาวเทียมอาจมีปัญหา เรื่องสัญญาณล้น  จึงทำให้จอดำ  แต่ระบบทีวีดิจิตอล สามารถแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้
15. กสทช. กำหนด ให้ ทีวีดิจิตอลมี 48 ช่อง โดยที่มีทีวีท้องถิ่น 12 ช่อง ทีวีสาธารณะ 12 ช่อง ทีวีสำหรับภาคธุรกิจ 24 ช่อง โดยใน 24 ช่องนี้ 20 ช่องจะเป็นมาตรฐานปกติ และอีก 4 ช่องเป็นมาตรฐานในไฮเดฟฟินิชั่น
16. ปีแรกโครงข่ายจะครอบคลุมพื้นที่แค่ 50% เท่านั้น ปีที่ 2 จะครอบคลุม 80% ปีที่ 3 จะครอบคลุม 90%
17. กล่องรับสัญญาณ DVB-T2 ที่จะนำคูปองมาเป็นส่วนลดได้ ต้องได้การรับรองคุณภาพจาก กสท
18. ทีวีดิจิตอลในระยะเริ่มแรกจะมีปัญหาในการส่งสัญญาณ ดังนั้น ชั่วงแรก อาจรับสัญญาณยังไม่ได้ครอบคลุม ทั่วประเทศ  โดยในระยะแรก รับสัญญาณได้เพียงพื้นที่ที่อยู่ในรัศมี 100 กมจาก กรุงเทพฯ
19. ราคาของทีวีดิจิตอล เท่าที่มีการคาดการณ์ ในระยะแรก จะไม่เกิน 2,000 บาท และ ราคาจะลดลง เมื่อมีผู้จำหน่ายเพิ่มมากขึ้น แต่เนื่องจาก เครื่องเป็นระบบ HD  ดังนั้นราคาจะไม่น่าจะต่ำกว่า 1,000 บาท
20. ทีวีระบบอนาล็อคแบบเก่า คาดว่าจะปิดตัวลงใน 5 ปี หรือเร็วกว่านั้น เนื่องจาก คาดว่าผู้ให้บริการเก่าจะไม่ต้องการส่งทั้ง สองระบบ เพื่อลดค่าใช้จ่ายลง  และอีกอย่างระบบเก่าคนก็จะดูน้อยลงเรื่อยๆ
* หากท่านใด  ต้องการซื้อ ทีวี Plasma , LCD , LED ขอให้อดใจรอสักนิด  เพราะบริษัทใหญ่ๆ ที่จำหน่ายทีวีก็จะนำทีวีระบบเก่ามาลดราคาลงอย่างมาก  เพื่อนำระบบใหม่มาจำหน่ายแทน  หากท่านไม่สนใจว่าต้องเป็นทีวีระบบใหม่ ท่านก็สามารถซื้อทีวีระบบเก่า และนำมาใส่กล่องรับสัญญาณ DVB-T2 ได้ 
บทวิเคราะห์ ทีวีดิจิตอลในประเทศไทย
            คาดว่าทีวีดิจิตอลในประเทศไทยภายใน 5 ปี คงจะยังไม่ประสบผลสำเร็จครบ 100 % เพราะ กสทช. ทั้งคณะไม่ได้มีความรู้เรื่องระบบโทรคมนาคม เครื่องส่งที่จะใช้ในระบบดิจิตอลไม่ได้มีวางขายตามท้องตลาดทั่วๆไป จะต้องมีการสั่งผลิตซึ่งไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทยประเทศเดียวที่สั่ง ยังมีอีกหลายๆประเทศ ซึ่งประเทศไทยต้องใช้เครื่องส่งในระบบดิจิตอล เฉพาะ ช่อง 5 ที่เป็นแม่ข่าย ประมาณ 50 เครื่อง ซึ่งทางบริษัทผู้ผลิตได้ไม่ทันอย่างแน่นอน
            การรับทีวีดิจิตอลจะต้องมีเซ็ททอปบอ็กซ์ ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง กสทช. มีมติแลกคูปองให้ประชาชน ครอบครัวละ 690 บาท ซึ่งน้อยมากๆ
             ประโยชน์ของการส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล
การส่งโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลนั้นได้ประโยชน์หลายประการ เช่น
1.ทำให้ใช้ประโยชน์จากช่องสัญญาณได้มากขึ้น เช่น เดิม 1 ช่องใช้ได้ 1 รายการ เมื่อหันมาใช้ระบบดิจิตอล มีการบีบอัดสัญญาณ ( Digital Compression ) ก็จะสามารถส่งได้ถึง 4-6 รายการทางภาคพื้นดิน และ 8-10 รายการทางดาวเทียม
2. ให้บริการเสริมได้ ( ถ้ากฎหมายอนุญาต )
3. สามารถรับชมขณะอยู่ในพาหนะเคลื่อนที่ได้ เช่น รับโทรทัศน์บนรถยนต์ได้ชัดเจนในบางความถี่
4. สามารถให้บริการฟรี ( Free to Air ) หรือบริการเก็บค่าสมาชิกได้
5. ค่าใช้จ่ายในการออกอากาศต่อ 1 รายการลดลง เพราะเครื่องส่ง 1 เครื่อง สามารถส่งได้หลายรายการ
6. พัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้ เพื่อรับกับวิวัฒนาการของการส่งและรับโทรทัศน์ในอนาคต เช่น โทรทัศน์จอกว้าง ( WIDE SCREEN ) โทรทัศน์ความคมชัดสูง ( HDTV )
7. ประหยัดพลังงานในการส่งโทรทัศน์ เนื่องจากเครื่องส่งใช้กำลังออกอากาศลดลง
8. คุณภาพในการรับชมดีขึ้น ไม่มีเงา การรบกวนน้อย เพราะถ้าจะรับได้ชัดก็ชัดเลยแต่ถ้าอยู่ในที่รับไม่ชัดก็จะรับไม่ได้ ดังนั้นหากต้องการรับชมก็ต้องขวนขวายหาวิธีรับจากทางอื่น เช่น จากเคเบิลทีวี หรือจากดาวเทียม ซึ่งถ้ารับได้ก็จะได้ชัดเจนไม่มีเงาและสิ่งรบกวน หรือถ้ามีการรบกวนก็จะมีในเปอร์เซ็นต์ที่น้อยมาก
ข้อเสีย
1. ภาพที่ได้เป็นแบบทวิสภาพ คือรับได้หรือรับไม่ได้ อาการคือภาพดับ เกิดลายเสื่อ หรือภาพตาย ตรงข้ามกับอนาล็อกที่แม้ภาพไม่ชัด เกิดจุดลูกน้ำ แต่ผู้ชมก็ยังพอรับภาพได้และได้ยินเสียง
2. สัญญาณถูกรบกวนได้ง่ายกว่าด้วยคลื่นวิทยุ (SF) และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM)

สาระสำคัญของธุรกิจโทรทัศน์อยู่ที่เนื้อหาที่ประชาชนรับชม และประชาชนเองก็มีหลากหลายและมีความต้องการต่างกัน ในสังคมเสรี จะดำเนินการอย่างไรถ้าช่องรายการที่มีมากขึ้นนั้นเป็นช่องที่ไม่มีคุณภาพ เป็นช่องที่เต็มไปด้วยรายการที่เรียกกันว่ารายการขยะ ขายการพนัน ขายเนื้อหาทางเพศ มอมเมาทางคุณไสยขาดความรับผิดชอบต่อสังคม

ทั้งสิ้นล้วนต้องติดตามดูพัฒนาของทีวีและการกำกับดูแลกันต่อไป