รีวิวราสเบอร์รี่พาย
ขอจับราสเบอร์รี่พายมารีวิวทั้งฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์ มาให้ดูกันอีกสักรอบ ขอเน้นไปทางที่ผมได้จัดเตรียมและติดตั้งให้ไปด้วยแล้วนะครับ ส่วนขั้นตอนการติดตั้งและตั้งค่าต่าง ๆ นั้น ค่อนข้างมีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะมาก สามารถค้นหาแนวทางได้จากเว็บไซต์ทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นฐานของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์
ชุดที่จัดเตรียมให้ในรหัส APRS009
ประกอบด้วย
1.บอร์ด Raspberry Pi
2.nTNC-Raspberry เป็นแผงวงจรที่มี nTNC-Module และอุปกรณ์สนับสนุนต่าง ๆ เชื่อมต่อไว้พร้อมใช้งาน
3.USB Adapter สายต่อจากไฟรถยนต์ออก USB 5V ขนาด 2A ทดสอบแล้วจ่ายกระแสได้จริง 2A เต็ม
4.4Layer Phone Jack แจ็คสายเข้าวิทยุแบบ 4ชั้น
5.SDCARD ขนาด 4G พร้อมลงโปรแกรม แผนที่ ไลบราลี่ ฯลฯ ติดตั้งพร้อมใช้งาน APRS
เมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วจะลดขนาดคงเหลือดังในภาพประกอบ
ตัวอย่างประกอบลงในกล่องของ Raspberry Pi และติดฮีทซิ้งค์ให้ CPU ภายใน
ส่วนประกอบของซอร์ฟแวร์
เริ่มจากเราสามารถเชื่อมต่อกับเจ้าราสเบอร์รี่พายได้หลายช่องทางเช่นทาง เชลล์คอมมานไลน์ หน้าจอมอนิเตอร์ และรีโมท เป็นต้น แต่การต่อผ่านเครือข่ายนั้นจะต้องทราบไอพีของเครื่องเสียก่อน โดยค่าปกติที่ตั้งไปนั้นจะกำหนดใช้ DHCP ซึ่งสามารถดูได้ที่ตัวจ่ายไอพีเช่นเร้าเตอร์ ในส่วนของ DHCP IP ยกตัวอย่างเร้าเตอร์ของ PLANET ดังภาพ จะเห็นการจ่ายไอพีให้ raspberypi เป็น IP 192.168.0.204
การเชื่อมต่อด้วยหน้าจอมอนิเตอร์
อันดับแรกให้หาจอทีวี หรือจะให้ดีควรจะมีช่องเสียบ HDMI จะได้ภาพชัดเจนกว่าช่องเสียบ VDO เมื่อจ่ายไฟเข้าบอร์ด ก็จะเห็นหน้าจอที่มีตัวหนังสือวิ่ง ๆ แสดงการบูทระบบของเคอร์เนล สักครู่ จะเข้าสู่หน้าจอเดสท๊อป ดังภาพประกอบ
เมื่อเราต้องการทราบไอพีของเครื่อง สามารถดับเบิ้ลคลิ๊กที่ไอคอน LXTerminal แล้วพิมพ์ ifconfig ก็จะสามารถแสดงหมายไอพีได้ดังภาพประกอบ
การเชื่อมต่อด้วยเชลล์คอมมานด์
เมื่อเราทราบไอพีของเครื่องจากตัวอย่างข้างต้นแล้ว เราสามารถใช้โปรแกรมเทอร์มินอลที่สามารถใช้ ssh ได้เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายแลนหรืออินเทอร์เน็ตระยะไกลเพื่อควบคุมและสั่งการได้ ในที่นี้จะใช้โปรแกรม putty เป็นตัวอย่าง โดยเริ่มจากการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่
http://www.chiark.greenend.org.uk/~sgtatham/putty/download.html
หรือลิงค์โดยตรงที่
http://the.earth.li/~sgtatham/putty/latest/x86/putty.exe
ตัวโปรแกรมไม่ต้องติดตั้ง ดับเบิ้ลคลิ๊กแล้วใช้งานได้ทันที โดยให้ใส่ IP (ตัวอย่าง: 192.168.0.204) ส่วน Connection type: เลือก SSH แล้วกดปุ่ม Open ดังภาพประกอบ
โปรแกรม putty จะทำการเชื่อมต่อคีย์ต่าง ๆ แล้วจะเข้าสู่ล๊อกอิน ให้ใส่ดังนี้
login as: pi
password: raspberry
เมื่อล๊อกอินผ่านแล้วจะเข้าสู่คอมมานด์พร๊อมดังภาพประกอบ
เมื่ออยู่ในคอมมานด์พร๊อมแล้วจะสามารถสั่งงานต่าง ๆ ได้ทันที เช่นคำสั่ง top ดูโปรเซสในระบบ ดังภาพประกอบ
ดูผลล๊อกการทำงานของ aprx ด้วยคำสั่ง tail -f /tmp/aprx-rf.log ดังภาพประกอบ
สั่งปิดเครื่องด้วยคำสั่ง sudo shutdown now ดังภาพประกอบ
เมื่อเราทราบไอพีของเครื่องจากตัวอย่างข้างต้นแล้ว เราสามารถใช้โปรแกรมเทอร์มินอลที่สามารถใช้ ssh ได้เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายแลนหรืออินเทอร์เน็ตระยะไกลเพื่อควบคุมและสั่งการได้ ในที่นี้จะใช้โปรแกรม putty เป็นตัวอย่าง โดยเริ่มจากการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่
http://www.chiark.greenend.org.uk/~sgtatham/putty/download.html
หรือลิงค์โดยตรงที่
http://the.earth.li/~sgtatham/putty/latest/x86/putty.exe
ตัวโปรแกรมไม่ต้องติดตั้ง ดับเบิ้ลคลิ๊กแล้วใช้งานได้ทันที โดยให้ใส่ IP (ตัวอย่าง: 192.168.0.204) ส่วน Connection type: เลือก SSH แล้วกดปุ่ม Open ดังภาพประกอบ
โปรแกรม putty จะทำการเชื่อมต่อคีย์ต่าง ๆ แล้วจะเข้าสู่ล๊อกอิน ให้ใส่ดังนี้
login as: pi
password: raspberry
เมื่อล๊อกอินผ่านแล้วจะเข้าสู่คอมมานด์พร๊อมดังภาพประกอบ
เมื่ออยู่ในคอมมานด์พร๊อมแล้วจะสามารถสั่งงานต่าง ๆ ได้ทันที เช่นคำสั่ง top ดูโปรเซสในระบบ ดังภาพประกอบ
ดูผลล๊อกการทำงานของ aprx ด้วยคำสั่ง tail -f /tmp/aprx-rf.log ดังภาพประกอบ
สั่งปิดเครื่องด้วยคำสั่ง sudo shutdown now ดังภาพประกอบ
การเชื่อมต่อด้วยรีโมทเดสท๊อป
เป็นการเชื่อมต่อเหมือนยกหน้าจอมาไว้บนคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานอยู่ ช่วยให้เล่นราสเบอร์รี่พายได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องมีจอมอนิเตอร์มาต่อจริง หรือจะเป็นการใช้งานรีโมทจากระยะไกลก็ได้ ก็จะทำให้เราสามารถเล่น aprs ข้ามพรมแดนได้เหมือนนั่งอยู่ที่นั้นได้เช่นกัน มาเริ่มกันเลยครับ การทำรีโมทนั้นจะมีสองส่วนคือส่วนเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในราสเบอร์รี่(ในที่นี้ติดตั้งไว้ให้แล้ว) และส่วนไคร์แอนที่อยู่บนคอมพิวเตอร์ ดังนั้นก่อนจะเริ่มใช้งานต้องไปดาวน์โหลดเจ้าตัวรีโมทเดสท๊อปมาเสียก่อนในที่นี้เราจะใช้ VNC สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่
Download TightVNC http://www.tightvnc.com/download.php
เมื่อทำการติดตั้งเสร็จ ก็จะได้เมนูเข้าโปรแกรมมาดังภาพประกอบ
เปิดโปรแกรมเสร็จมันจะให้ใส่ไอพีของราสเบอร์รี่พายแล้วตามด้วยเลขหน้าต่างเดสท๊อป (ตัวอย่าง: 192.168.0.204:1) ดังภาพประกอบ
เมื่อมันเชื่อมต่อไปยังราสเบอร์รี่พายได้แล้วจะให้ใส่รหัสผ่าน(คือ:raspberry) ดังภาพประกอบ
เมื่อล๊อกอินผ่านแล้ว ก็จะสร้างหน้าต่างรีโมทเดสท๊อปของหน้าจอราสเบอร์รี่พายออกมา ดังภาพประกอบ
เป็นการเชื่อมต่อเหมือนยกหน้าจอมาไว้บนคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานอยู่ ช่วยให้เล่นราสเบอร์รี่พายได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องมีจอมอนิเตอร์มาต่อจริง หรือจะเป็นการใช้งานรีโมทจากระยะไกลก็ได้ ก็จะทำให้เราสามารถเล่น aprs ข้ามพรมแดนได้เหมือนนั่งอยู่ที่นั้นได้เช่นกัน มาเริ่มกันเลยครับ การทำรีโมทนั้นจะมีสองส่วนคือส่วนเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในราสเบอร์รี่(ในที่นี้ติดตั้งไว้ให้แล้ว) และส่วนไคร์แอนที่อยู่บนคอมพิวเตอร์ ดังนั้นก่อนจะเริ่มใช้งานต้องไปดาวน์โหลดเจ้าตัวรีโมทเดสท๊อปมาเสียก่อนในที่นี้เราจะใช้ VNC สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่
Download TightVNC http://www.tightvnc.com/download.php
เมื่อทำการติดตั้งเสร็จ ก็จะได้เมนูเข้าโปรแกรมมาดังภาพประกอบ
เปิดโปรแกรมเสร็จมันจะให้ใส่ไอพีของราสเบอร์รี่พายแล้วตามด้วยเลขหน้าต่างเดสท๊อป (ตัวอย่าง: 192.168.0.204:1) ดังภาพประกอบ
เมื่อมันเชื่อมต่อไปยังราสเบอร์รี่พายได้แล้วจะให้ใส่รหัสผ่าน(คือ:raspberry) ดังภาพประกอบ
เมื่อล๊อกอินผ่านแล้ว ก็จะสร้างหน้าต่างรีโมทเดสท๊อปของหน้าจอราสเบอร์รี่พายออกมา ดังภาพประกอบ
การเชื่อมต่อกับ nTNC ด้วยคอมมานด์ไลน์
การเชื่อมต่อผ่านพอร์ตซีเรียลภายในนั้นมีหลายโปรแกรมในที่นี้จะยกตัวอย่างใช้โปรแกรม picocom ซึ่งได้ทำการติดตั้งไว้ให้แล้วนั้น เริ่มด้วยการเปิดโปรแกรมคอนโซล LXTerminal ขึ้นมาก่อน(หรือเชื่อมต่อผ่าน putty ก็ได้) แล้วพิมพ์
picocom -b 115200 /dev/ttyAMA0
ตัวโปรแกรมก็จะทำการเชื่อมต่อกับซีเรียลพอร์ต /dev/ttyAMA0 ด้วยความเร็ว 115,200bps ซึ่งในบอร์ด nTNC-Raspberry มีโมดูล nTNC เชื่อมต่ออยู่ ดังภาพประกอบ
บนบอร์ด nTNC-Raspberry เมื่อเราเสียบวิทยุอยู่และสามารถรับแพ็คเก็จข้อมูลได้ ก็จะแสดงข้อมูลในรูปแบบ TNC2 ออกมาดังภาพประกอบ
เราสามารถใช้คำสั่งควบคุมการตั้งค่าของ nTNC-Module ได้เช่น แสดงค่าตัวแปลพิมพ์ DISP จะแสดงข้อมูลการกำหนดค่าทั้งหมดดังภาพประกอบ
เมื่อต้องการออกจากตัวโปรแกรมให้กดปุ่ม Ctl+ax(กดปุ่ม Ctl ค้างไว้แล้วพิมพ์ a ตามด้วย x) ดังภาพประกอบ
การเชื่อมต่อผ่านพอร์ตซีเรียลภายในนั้นมีหลายโปรแกรมในที่นี้จะยกตัวอย่างใช้โปรแกรม picocom ซึ่งได้ทำการติดตั้งไว้ให้แล้วนั้น เริ่มด้วยการเปิดโปรแกรมคอนโซล LXTerminal ขึ้นมาก่อน(หรือเชื่อมต่อผ่าน putty ก็ได้) แล้วพิมพ์
picocom -b 115200 /dev/ttyAMA0
ตัวโปรแกรมก็จะทำการเชื่อมต่อกับซีเรียลพอร์ต /dev/ttyAMA0 ด้วยความเร็ว 115,200bps ซึ่งในบอร์ด nTNC-Raspberry มีโมดูล nTNC เชื่อมต่ออยู่ ดังภาพประกอบ
บนบอร์ด nTNC-Raspberry เมื่อเราเสียบวิทยุอยู่และสามารถรับแพ็คเก็จข้อมูลได้ ก็จะแสดงข้อมูลในรูปแบบ TNC2 ออกมาดังภาพประกอบ
เราสามารถใช้คำสั่งควบคุมการตั้งค่าของ nTNC-Module ได้เช่น แสดงค่าตัวแปลพิมพ์ DISP จะแสดงข้อมูลการกำหนดค่าทั้งหมดดังภาพประกอบ
เมื่อต้องการออกจากตัวโปรแกรมให้กดปุ่ม Ctl+ax(กดปุ่ม Ctl ค้างไว้แล้วพิมพ์ a ตามด้วย x) ดังภาพประกอบ
การทำไอเกทด้วย APRX
การเล่นราสเบอร์รี่พายโดยกำหนดให้เป็นไอเกทนั้น สามารถทำได้หลายทางหลายโปรแกรมเช่น APRS4R,APRSD,APRX,APRSG ฯลฯ ในที่นี่จะยกตัวอย่างเป็น APRX ซึ่งเป็นที่นิยมโดยทั่วไปในปัจจุบัน ในราสเบอร์รี่นั้นได้ทำการติดตั้งและแก้ไขให้สามารถส่งข้อมูล TNC2 ได้และฐานเวลาในล๊อกที่แสดงเป็นเวลาไทยแล้ว การตั้งค่าต่าง ๆ ให้แก้ไขในไฟล์ /etc/aprx.conf แต่จะแก้ไขได้ต้องเป็นรูท ดังนั้นเราจะเปลี่ยนสิทธิของไฟล์ให้เป็นของยูสเซอร์ pi โดยเปิดโปรแกรม LXTerminal ขึ้นมาแล้วพิมพ์
sudo chown pi.pi /etc/aprx.conf
พร้อมตรวจเช็คอีกครั้งด้วยคำสั่ง ls -l /etc/aprx.conf ดังภาพประกอบ
ถ้าอยู่ในโหมดคอมมานด์ไลน์สามารถใช้โปรแกรมแก้ไขข้อความได้เช่น vi,nano,pico เป็นต้น ในที่นี่เราจะใช้โปรแกรม Leafpad ซึ่งจะคล้าย ๆ กับ notepad บนวินโดว์ จะทำให้เราแก้ไขไฟล์ได้ง่ายขึ้น ดังภาพประกอบ
เมื่อเปิดโปรแกรมมาแล้วให้ไปที่ File->Open... ดังภาพประกอบ
จากนั้นให้เลือกไฟล์โดยคลิ๊กที่ File System แล้วด้านขวาเลือก etc ในซับนี้ให้เลือกไฟล์ aprx.conf ดังภาพประกอบ
เมื่อเปิดไฟล์ขึ้นมา จะสามารถแก้ไขได้โดยง่ายและบันทึกไฟล์โดยเลือกเมนู File->Save ดังภาพประกอบ
เมื่อต้องการเปิดโปรแกรม aprx ให้ไปที่ LXTerminal อีกครั้ง แล้วพิมพ์ sudo aprx
เมื่อต้องการปิดโปรแกรม aprx ให้ไปที่ LXTerminal อีกครั้ง แล้วพิมพ์ sudo killall -9 aprx
เมื่อต้องการให้เปิดโปรแกรมทุกครั้ง ที่เปิดเครื่อง สามารถนำคำสั่งรันไปใส่ไว้ใน /etc/profile ได้ดังตัวอย่างคำสั่งต่อไปนี้
การเล่นราสเบอร์รี่พายโดยกำหนดให้เป็นไอเกทนั้น สามารถทำได้หลายทางหลายโปรแกรมเช่น APRS4R,APRSD,APRX,APRSG ฯลฯ ในที่นี่จะยกตัวอย่างเป็น APRX ซึ่งเป็นที่นิยมโดยทั่วไปในปัจจุบัน ในราสเบอร์รี่นั้นได้ทำการติดตั้งและแก้ไขให้สามารถส่งข้อมูล TNC2 ได้และฐานเวลาในล๊อกที่แสดงเป็นเวลาไทยแล้ว การตั้งค่าต่าง ๆ ให้แก้ไขในไฟล์ /etc/aprx.conf แต่จะแก้ไขได้ต้องเป็นรูท ดังนั้นเราจะเปลี่ยนสิทธิของไฟล์ให้เป็นของยูสเซอร์ pi โดยเปิดโปรแกรม LXTerminal ขึ้นมาแล้วพิมพ์
sudo chown pi.pi /etc/aprx.conf
พร้อมตรวจเช็คอีกครั้งด้วยคำสั่ง ls -l /etc/aprx.conf ดังภาพประกอบ
ถ้าอยู่ในโหมดคอมมานด์ไลน์สามารถใช้โปรแกรมแก้ไขข้อความได้เช่น vi,nano,pico เป็นต้น ในที่นี่เราจะใช้โปรแกรม Leafpad ซึ่งจะคล้าย ๆ กับ notepad บนวินโดว์ จะทำให้เราแก้ไขไฟล์ได้ง่ายขึ้น ดังภาพประกอบ
เมื่อเปิดโปรแกรมมาแล้วให้ไปที่ File->Open... ดังภาพประกอบ
จากนั้นให้เลือกไฟล์โดยคลิ๊กที่ File System แล้วด้านขวาเลือก etc ในซับนี้ให้เลือกไฟล์ aprx.conf ดังภาพประกอบ
เมื่อเปิดไฟล์ขึ้นมา จะสามารถแก้ไขได้โดยง่ายและบันทึกไฟล์โดยเลือกเมนู File->Save ดังภาพประกอบ
เมื่อต้องการเปิดโปรแกรม aprx ให้ไปที่ LXTerminal อีกครั้ง แล้วพิมพ์ sudo aprx
เมื่อต้องการปิดโปรแกรม aprx ให้ไปที่ LXTerminal อีกครั้ง แล้วพิมพ์ sudo killall -9 aprx
เมื่อต้องการให้เปิดโปรแกรมทุกครั้ง ที่เปิดเครื่อง สามารถนำคำสั่งรันไปใส่ไว้ใน /etc/profile ได้ดังตัวอย่างคำสั่งต่อไปนี้
โค๊ด: [Select]
$ sudo chown pi.pi /etc/profile
$ echo "/sbin/aprx -f /etc/aprx.conf" >> /etc/profile
การใช้งานโปรแกรม XASTIR เบื้องต้น
ตัวโปรแกรม xastir นั้นสามารถตอบสนองผู้ที่เล่นระบบ aprs ได้หลากหลายคล้ายกับโปรแกรม UI-VIEW บนวินโดว์ ในราสเบอร์รี่พายนี้ได้ทำการติดตั้งและตั้งค่าใช้งานในเบื้องต้นให้แล้ว พร้อมทั้งแผนที่ประเทศไทยซูม 4ระดับ ไว้ให้แล้วพร้อมนำไปเล่นในโหมด Offline ไม่ต้องต่ออินเทอร์เน็ตได้ทันที เริ่มเล่นด้วยการเปิดโปรแกรม xastir ไอคอนรูปรถ แล้วรอสักครู่ ตัวโปรแกรมจะเปิดขึ้นมาพร้อมแสดงแผนที่ ดังภาพประกอบ
เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้ว ให้เข้าไปดูการเชื่อมต่อใน Interface->Interface Control ดังภาพประกอบ
จากตัวอย่างจะกำหนดไว้ 2 ทางการเชื่อมต่อ คือ TNC(ซีเรียลพอร์ต) กับ APRS-IS(อินเทอร์เน็ต) โดยทั้งสองทำงานอยู่จึงแสดงสถานะ UP ดังภาพประกอบ
เมื่อเลือก Device 0 แล้วคลิ๊ก Properties จะแสดงหน้าต่าง Configure TNC ขึ้นมา ในวงสีแดงนั้นไม่ควรแก้ไข ส่วนวงสีเขียวนั้นสามารถแก้ไขเองได้ตามต้องการ ดังภาพประกอบ
เมื่อเลือก Device 1 แล้วคลิ๊ก Properties จะแสดงหน้าต่าง Configure Internet ขึ้นมาให้ใส่ Pass-code ตามนามเรียกขานของท่าน ดังภาพประกอบ
การกำหนดข้อมูลสถานีท่านนั้น ให้ไปที่เมนู File->Configure->Station ดังภาพประกอบ
หน้าต่าง Configure Station นั้นให้ท่านเปลี่ยนนามเรียกขานใหม่ในช่อง Callsign และตำแหน่งพิกัด GPS ที่ต้องการ(สามารถดูได้จากตัวแผนที่ด้านล่าง) ในส่วนอื่น ๆ เช่นไอคอน ข้อมูลสถานีนั้นกำหนดตามใจชอบ ดังภาพประกอบ
เมื่อมีข้อมูลในแผนที่จำนวนมากเกินไป สามารถสั่งล้างหน้าจอใหม่ได้โดยไปที่เมนู Station->Configure->Clear All Stations!! ดังภาพประกอบ
การซูมเข้าหรือซูมออก ณ ตำแหน่งใด ๆ ให้เอาเมาท์ไปวางบนแผนที่แล้วคลิ๊กขวาเลือก Zoom Level ตามต้องการ
เมื่อทำการซูมแล้ว ในสเตตัสบาร์ด้านล่างขวา จะแสดงกำหนดค่าการซูมไว้ และพิกัดจีพีเอสที่เมาท์ชี้อยู่ ดังภาพประกอบ
เมื่อต้องการดูข้อมูลเข้าออกในรูปแบบ TNC2 คล้ายกับการดูล๊อกของ aprx ไปที่เมนู View->Incomming Data ดังภาพประกอบ
คลิ๊กเลือกการแสดงผล ในที่นี่เลือกเพียง TNC Data Only เท่านั้น ดังภาพประกอบ
การดูข้อมูลของสถานีนั้น ๆ โดยการคลิ๊กขวาที่ไอคอนบนแผนที่ แล้วเลือก Station Info ดังภาพประกอบ
จะแล้วจะขึ้นหน้าต่าง Station Info พร้อมทั้งรายละเอียดต่าง ๆ ดังภาพต่อไปนี้
สามารถเลือกดูลิสรายการสถานีทั้งหมด ดังภาพประกอบ
ตัวโปรแกรม xastir นั้นสามารถตอบสนองผู้ที่เล่นระบบ aprs ได้หลากหลายคล้ายกับโปรแกรม UI-VIEW บนวินโดว์ ในราสเบอร์รี่พายนี้ได้ทำการติดตั้งและตั้งค่าใช้งานในเบื้องต้นให้แล้ว พร้อมทั้งแผนที่ประเทศไทยซูม 4ระดับ ไว้ให้แล้วพร้อมนำไปเล่นในโหมด Offline ไม่ต้องต่ออินเทอร์เน็ตได้ทันที เริ่มเล่นด้วยการเปิดโปรแกรม xastir ไอคอนรูปรถ แล้วรอสักครู่ ตัวโปรแกรมจะเปิดขึ้นมาพร้อมแสดงแผนที่ ดังภาพประกอบ
เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้ว ให้เข้าไปดูการเชื่อมต่อใน Interface->Interface Control ดังภาพประกอบ
จากตัวอย่างจะกำหนดไว้ 2 ทางการเชื่อมต่อ คือ TNC(ซีเรียลพอร์ต) กับ APRS-IS(อินเทอร์เน็ต) โดยทั้งสองทำงานอยู่จึงแสดงสถานะ UP ดังภาพประกอบ
เมื่อเลือก Device 0 แล้วคลิ๊ก Properties จะแสดงหน้าต่าง Configure TNC ขึ้นมา ในวงสีแดงนั้นไม่ควรแก้ไข ส่วนวงสีเขียวนั้นสามารถแก้ไขเองได้ตามต้องการ ดังภาพประกอบ
เมื่อเลือก Device 1 แล้วคลิ๊ก Properties จะแสดงหน้าต่าง Configure Internet ขึ้นมาให้ใส่ Pass-code ตามนามเรียกขานของท่าน ดังภาพประกอบ
การกำหนดข้อมูลสถานีท่านนั้น ให้ไปที่เมนู File->Configure->Station ดังภาพประกอบ
หน้าต่าง Configure Station นั้นให้ท่านเปลี่ยนนามเรียกขานใหม่ในช่อง Callsign และตำแหน่งพิกัด GPS ที่ต้องการ(สามารถดูได้จากตัวแผนที่ด้านล่าง) ในส่วนอื่น ๆ เช่นไอคอน ข้อมูลสถานีนั้นกำหนดตามใจชอบ ดังภาพประกอบ
เมื่อมีข้อมูลในแผนที่จำนวนมากเกินไป สามารถสั่งล้างหน้าจอใหม่ได้โดยไปที่เมนู Station->Configure->Clear All Stations!! ดังภาพประกอบ
การซูมเข้าหรือซูมออก ณ ตำแหน่งใด ๆ ให้เอาเมาท์ไปวางบนแผนที่แล้วคลิ๊กขวาเลือก Zoom Level ตามต้องการ
เมื่อทำการซูมแล้ว ในสเตตัสบาร์ด้านล่างขวา จะแสดงกำหนดค่าการซูมไว้ และพิกัดจีพีเอสที่เมาท์ชี้อยู่ ดังภาพประกอบ
เมื่อต้องการดูข้อมูลเข้าออกในรูปแบบ TNC2 คล้ายกับการดูล๊อกของ aprx ไปที่เมนู View->Incomming Data ดังภาพประกอบ
คลิ๊กเลือกการแสดงผล ในที่นี่เลือกเพียง TNC Data Only เท่านั้น ดังภาพประกอบ
การดูข้อมูลของสถานีนั้น ๆ โดยการคลิ๊กขวาที่ไอคอนบนแผนที่ แล้วเลือก Station Info ดังภาพประกอบ
จะแล้วจะขึ้นหน้าต่าง Station Info พร้อมทั้งรายละเอียดต่าง ๆ ดังภาพต่อไปนี้
สามารถเลือกดูลิสรายการสถานีทั้งหมด ดังภาพประกอบ
การเชื่อมต่อแอร์การ์ด 3G
โดยปกติแล้วเรามักเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโปรแกรม pppd แต่ด้วยการใช้งานค่อนข้างยุ่งยากที่ต้องใช้คอมมานด์ไลน์ในการสั่งงาน ดังนั้นเราจะใช้โปรแกรมช่วยคือ Sakis3G ที่ได้ทำการติดตั้งไว้ให้แล้วนั้น
เริ่มต้นด้วยการเปิดโปรแกรม LXTerminal ขึ้นมาก่อนแล้วพิมพ์ sudo sakis3g --interactive จะเป็นตัวช่วยตั้งค่าแอร์การ์ดและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนหน้าจอเดสท๊อปแบบง่าย ดังภาพประกอบ
จะขึ้นหน้าต่างของโปรแกรม Sakis3G ขึ้นมา ให้คลิ๊กหัวข้อ Connect with 3G
ก็จะให้เราเลือกพอร์ตเชื่อมต่อ ในที่นี้ใช้ USB885 ของ at&t จึงเลือก USB device
จากนั้นก็จะมีให้เลือกอุปกรณ์ของโมเด็มที่สนับสนุน ในที่นี้เราใช้ HSPA Modem
ในส่วนนี้อาจต้องเดากันนิดหนึ่ง เนื่องจาก USB885 มีการเชื่อมต่อมาหลายพอร์ต ในที่นี้เลือกใช้พอร์ตที่ 3
จากนั้นตัวโปรแกรม Sakis3G ก็จะทำการค้นหาคำสั่งและการตอบสนองของโมเด็มแอร์การ์ดของเรา
เมื่อมันค้นหาข้อมูลในระบบเครือข่ายที่มีแล้วก็จะแสดงให้เราเลือกเครือข่ายเลือกอีกครั้ง ในที่นี้ใช้ซิม dtac
แล้วจะให้ตั้งค่า user/pass ของเครือข่ายของ dtac ใช้ user:dtac pass:dtac
เมื่อกดปุ่ม OK ก็จะทำการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
เชื่อมต่อสำเร็จก็จะขึ้น
การเชื่อมต่อสำเร็จแล้ว ก็ย่อมันเก็บไว้ หรือจะดูข้อมูลการเชื่อมต่อ คลิ๊กที่ Connection information
เปิดโปรแกรม LXTerminal พิมพ์ ifconfig เพื่อตรวจสอบเครือข่ายว่าเชื่อมต่อจริงหรือไม่ ให้ดูตรงส่วนดีไวซ์พอร์ต ppp0
ตรวจสอบเส้นทางการใช้งานอินเทอร์เน็ตไปที่เซิร์ฟเวอร์ aprsth.nakhonthai.net ด้วยคำสั่ง traceroute aprsth.nakhonthai.net
เมื่อต้องการสร้างช๊อตคัท ไว้บนเดสท๊อป ก็ให้คลิ๊กหัวข้อ Create shortcut ก็จะขึ้นหน้าต่างบอกว่าได้สร้างช๊อตคัทให้แล้ว ก็จะได้ไอคอนรูปตัวนกแพนกวินภายใต้ชื่อ Sakis3G บนเดสท๊อปเอาไว้เข้าใช้งานต่อไป
โดยปกติแล้วเรามักเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านโปรแกรม pppd แต่ด้วยการใช้งานค่อนข้างยุ่งยากที่ต้องใช้คอมมานด์ไลน์ในการสั่งงาน ดังนั้นเราจะใช้โปรแกรมช่วยคือ Sakis3G ที่ได้ทำการติดตั้งไว้ให้แล้วนั้น
เริ่มต้นด้วยการเปิดโปรแกรม LXTerminal ขึ้นมาก่อนแล้วพิมพ์ sudo sakis3g --interactive จะเป็นตัวช่วยตั้งค่าแอร์การ์ดและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนหน้าจอเดสท๊อปแบบง่าย ดังภาพประกอบ
จะขึ้นหน้าต่างของโปรแกรม Sakis3G ขึ้นมา ให้คลิ๊กหัวข้อ Connect with 3G
ก็จะให้เราเลือกพอร์ตเชื่อมต่อ ในที่นี้ใช้ USB885 ของ at&t จึงเลือก USB device
จากนั้นก็จะมีให้เลือกอุปกรณ์ของโมเด็มที่สนับสนุน ในที่นี้เราใช้ HSPA Modem
ในส่วนนี้อาจต้องเดากันนิดหนึ่ง เนื่องจาก USB885 มีการเชื่อมต่อมาหลายพอร์ต ในที่นี้เลือกใช้พอร์ตที่ 3
จากนั้นตัวโปรแกรม Sakis3G ก็จะทำการค้นหาคำสั่งและการตอบสนองของโมเด็มแอร์การ์ดของเรา
เมื่อมันค้นหาข้อมูลในระบบเครือข่ายที่มีแล้วก็จะแสดงให้เราเลือกเครือข่ายเลือกอีกครั้ง ในที่นี้ใช้ซิม dtac
แล้วจะให้ตั้งค่า user/pass ของเครือข่ายของ dtac ใช้ user:dtac pass:dtac
เมื่อกดปุ่ม OK ก็จะทำการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
เชื่อมต่อสำเร็จก็จะขึ้น
การเชื่อมต่อสำเร็จแล้ว ก็ย่อมันเก็บไว้ หรือจะดูข้อมูลการเชื่อมต่อ คลิ๊กที่ Connection information
เปิดโปรแกรม LXTerminal พิมพ์ ifconfig เพื่อตรวจสอบเครือข่ายว่าเชื่อมต่อจริงหรือไม่ ให้ดูตรงส่วนดีไวซ์พอร์ต ppp0
ตรวจสอบเส้นทางการใช้งานอินเทอร์เน็ตไปที่เซิร์ฟเวอร์ aprsth.nakhonthai.net ด้วยคำสั่ง traceroute aprsth.nakhonthai.net
เมื่อต้องการสร้างช๊อตคัท ไว้บนเดสท๊อป ก็ให้คลิ๊กหัวข้อ Create shortcut ก็จะขึ้นหน้าต่างบอกว่าได้สร้างช๊อตคัทให้แล้ว ก็จะได้ไอคอนรูปตัวนกแพนกวินภายใต้ชื่อ Sakis3G บนเดสท๊อปเอาไว้เข้าใช้งานต่อไป
เยี่ยมเลยครับ ขอบคุณครับตอนแรกว่าจะติดให้ แต่ได้มาแค่ตัวเดียวเลยแปะไว้เป็นของโชว์
พอจะมีวิธีการติดฮีทซิงค์ให้เจ้า Raspbber Pi ให้ดูบ้างมั้ยครับ
วิธีง่ายสุดเลยนะครับ ให้ไปเดินหาฮิทซิ้งค์ที่เค้าเอาไว้ ติดแรมคอมพิวเตอร์นี่ละครับ ที่เป็นตัวเล็ก ๆ พร้อมกาวซิลีโคนสองหน้า แผงหนึ่งขายอยู่ราว 4-8ตัว ถ้าเจอก็ซื้อมาแปะได้เลยครับ
เยี่ยมเลยครับ ขอบคุณครับตอนแรกว่าจะติดให้ แต่ได้มาแค่ตัวเดียวเลยแปะไว้เป็นของโชว์
พอจะมีวิธีการติดฮีทซิงค์ให้เจ้า Raspbber Pi ให้ดูบ้างมั้ยครับ
วิธีง่ายสุดเลยนะครับ ให้ไปเดินหาฮิทซิ้งค์ที่เค้าเอาไว้ ติดแรมคอมพิวเตอร์นี่ละครับ ที่เป็นตัวเล็ก ๆ พร้อมกาวซิลีโคนสองหน้า แผงหนึ่งขายอยู่ราว 4-8ตัว ถ้าเจอก็ซื้อมาแปะได้เลยครับ
ขอบคุณครับ
ดึงแผนที่จากกูเกิ้ลซูม 5ระดับมาให้ XASTIR
ซูมระดับ 500km
ซูมระดับ 200km
ซูมระดับ 100km
ซูมระดับ 50km
ซูมระดับ 20km
เราสามารถเอา gps มาต่อเพื่อให้เป็น i-gate เคลื่อนที่ ได้ไหมครับ
ทำไมผมเปลี่ยน callsigh เป็น HS5ZQJ แล้ว Verified ขึ้นเป็น NO ครับ แล้วไม่แสดงบนแผนที่ด้วย
แต่ถ้าใช้ APRASP กลับทำงานปกติ
ทำไมผมเปลี่ยน callsigh เป็น HS5ZQJ แล้ว Verified ขึ้นเป็น NO ครับ แล้วไม่แสดงบนแผนที่ด้วย
แต่ถ้าใช้ APRASP กลับทำงานปกติ